เมนู

ในคาถานั้น บทว่า อาเสวมาโน ความว่า อบรมอยู่ซึ่งธรรมทั้งสาม
ด้วยอำนาจแห่งฌานหมวดสามและหมวดสี่ ซึ่งอุเบกขาด้วยอำนาจแห่งจตุตถ-
ฌาน.
บทว่า กาเล ความว่า บุคคลเจริญเมตตาแล้ว ออกจากเมตตานั้น
แล้วเสพกรุณา ออกจากกรุณานั้นแล้ว เสพมุทิตา ออกจากมุทิตานั้น หรือ
จากฌานอันไม่มีปีตินอกนี้แล้ว เสพอุเบกขา เรียกว่า เสพอยู่ในกาล. หรือ
เรียกว่าเสพอยู่ในกาลอันผาสุก เพื่อจะเสพ.
บทว่า สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน ความว่า ไม่ยินร้ายด้วย
โลกทั้งปวงในทิศทั้งสิบ. จริงอยู่ เพราะความที่ธรรมทั้งหลายมีเมตตาเป็นต้น
อันตนเจริญแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ไม่น่าเกลียด และปฏิฆะอันก่อความ
โกรธในสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบระงับ. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึง
กล่าวว่าไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวงดังนี้. ความสังเขปในคาถานี้มีเท่านี้. ส่วน
เมตตาทิกถา ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่ออัฏฐลาลินี.
บทที่เหลือ เป็นเช่นกับนัยก่อนนั่นแล.
อัปปมัญญาคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 40


คาถาว่า ราคญฺจ โทสํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อ มาตังคะ องค์สุดท้ายของพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย อยู่อาศัยพระนครราชคฤห์ ในกาลนั้น เมื่อพระ-
โพธิสัตว์ของพวกเราอุบัติแล้ว เทวดาทั้งหลายพากันมา เพื่อประโยชน์ในการ

บูชาพระโพธิสัตว์ เห็นมาตังคปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว กล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์ !
ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ! พระพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลก.
พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ออกจากนิโรธได้ฟังเสียงนั้นแล้วเห็นความ
สิ้นไปแห่งชีวิตของตนเทียว จึงเหาะไปที่ภูเขาชื่อว่า มหาปปาต ในหิมวันต-
ประเทศซึ่งเป็นที่ปรินิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ใส่โครงกระ
ดูกของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้วในกาลก่อนลงในเหว นั่งที่พื้นศิลา
ได้กล่าวคาถานี้ว่า
ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
สนฺทาลยิตฺวาน สํโยชนานิ
อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะ
แล้วทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้ง
ในเวลาสิ้นชีวิต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
นอแรด ฉะนั้น
ดังนี้.
ในคาถานั้น ราคะ โทสะ และโมหะ ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในอุรคสูตร.
บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ 10. ทำลายสังโยชน์เหล่านั้น
แล้ว ด้วยมรรคนั้น ๆ.
บทว่า อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ ความว่า การจุติ คือ การแตก
ดับแห่งจิต เรียกว่าความสิ้นชีวิต. ชื่อว่า ไม่สะดุ้ง เพราะละความใคร่ในการ
สิ้นชีวิตนั้นแล้ว.

พระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้านั้น แสดงอุปาทิเสสนิพพานธาตุแก่ตนแล้ว
ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในเวลาจบคาถา ด้วยประการฉะนี้
แล.
ชีวิตสังขยคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 41


คาถาว่า ภชนฺติ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ในพระนครพาราณสี ทรงครอบ-
ครองราชสมบัติกว้างขวาง มีประการที่กล่าวแล้วในคาถาต้นนั้นแล ท้าวเธอทรง
พระประชวรหนัก ทุกขเวทนาเป็นไปอยู่ สตรี 20,000 นาง ต่างก็ทำการนวด
พระหัตถ์และพระบาทเป็นต้น อำมาตย์ทั้งหลายคิดว่า บัดนี้พระราชาพระองค์นี้
จักไม่รอดชีวิต เอาเถิด พวกเราจักแสวงหาที่พึ่งแห่งตน ดังนี้แล้ว ไปสู่พระ-
ราชสำนักของพระราชาพระองค์อื่น ก็ทูลขอการบำรุง อำมาตย์เหล่านั้น บำรุง
อยู่ในพระราชสำนักนั้นนั่นแล ก็ไม่ได้อะไรเลย.
ฝ่ายพระราชาทรงหายพระประชวรแล้ว ตรัสถามว่า อำมาตย์ชื่อนี้และ
ชื่อนี้ ไปไหน ? แต่นั้น ทรงสดับประพฤติการณ์นั้นแล้ว สั่นพระเศียรทรง
นิ่งแล้ว อำมาตย์แม้เหล่านั้นสดับว่า พระราชาหายประชวรแล้ว เมื่อไม่ได้
อะไร ๆ ในพระราชสำนักของพระราชาพระองค์อื่นนั้น ประสบความเสื่อม
อย่างยิ่ง จึงกลับมาอีก ถวายบังคมพระราชาแล้ว ยืนอยู่ในที่สุดส่วนหนึ่ง
อำมาตย์เหล่านั้น ถูกพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อ พวกท่านไปไหนมา จึง
กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พวกข้าพระองค์เห็นพระองค์ทรงทุรพลภาพ